
ปัญหาบ้านทรุดตัว
การทรุดตัวของโครงสร้างอาจก่อให้เกิดผลกระทบได้มากไม่ว่าจะเป็นรอยแตกร้าวตามผนังหรือรอยแยกระหว่างโครงสร้าง
การรั่วซึมของนํ้าที่ผ่านตามรอยร้าวและรอยแยกที่เกิดจากปัญหาบ้านทรุด การแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุดไม่สามารถแก้ปัญหาบ้านทรุดได้
สาเหตุอาคารเกิดการทรุดตัว
1. ความลึกของเสาเข็มที่ไม่ได้ยืนอยู่บนชั้นดินแข็ง2. เกิดความเสียหายที่เสาเข็มขณะทำการตอก
3. การทรุดตัวที่แตกต่างกันของโครงสร้าง เช่น ส่วนต่อเติมจากอาคารเดิม
4. การต่อเติมอาคารที่มีนํ้าหนักมากกว่าที่ออกแบบไว้
MICROPILES
เสาเข็มไมโครไพล์แบบกดด้วยระบบไฮโดรลิก
โดยเสาเข็มไมโครไพล์ถูกออกแบบมาเพื่อเสริมความสามารถในการรับนํ้าหนักให้กับโครงสร้างที่มีการทรุดตัวและแก้ปัญหาบ้านทรุดโดยเฉพาะ
โดยเสาเข็มจะถูกกดลงไปยังชั้นดินแข็งเพื่อให้สามารถรับนํ้าหนักของโครงสร้างได้


MICROPILE
ขั้นตอนการทำงานติดตั้งเสาเข็มไมโครไพล์ระบบกด

1. สำรวจ และวิเคราะห์ ลักษณะความเสียหายของอาคาร เพิ่อใช้ในการกำหนดลักษณะการติดตั้ง ตำแหน่งการติดตั้ง และจำนวนเสาเข็มไมโครไพล์

2. ทำการปิดกั้นหน้างานเพื่อให้ง่ายต่อการรักษาความสะอาดของพื้นที่ทำงาน และเพื่อแบ่งเขตพื้นที่การทำงานให้เป็นระเบียบเรียบร้อย

3. ทำการขุดสกัดคอนกรีตลงไปยังฐานรากของโครงสร้าง เพื่อหาตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อติดตั้งบ่ารับน้ำหนัก โดยทำการขุดหลุมขนาดประมาณ 0.6x0.6 เมตร เมื่อได้ตำแหน่งที่เหมาะสมแล้วก็จะทำการสกัดแต่งผิวคอนกรีตเพื่อให้ได้ผิวสัมผัสที่ราบเรียบระหว่างคอนกรีตและบ่ารับน้ำหนัก

4. ติดตั้งบ่ารับน้ำหนัก (Bracket) เข้ากับฐานรากของโครงสร้าง โดยการติดตั้งจะต้องติดตั้งบ่ารับน้ำหนักให้มีองศาท่อประมาณ 2-5 องศา ขึ้นอยู่กับความลึกของชั้นดินแข็ง ท่อเสาเข็มมีความยาวท่อนละ 1 เมตร เชื่อมต่อด้วยระบบข้อต่อแบบพิเศษ สามารถรับแรงดัดได้สูง โดยไม่ต้องเชื่อมที่เป็นสาเหตุทำให้อายุการใช้งานของโครงสร้างเหล็กลดลง

5. ติดตั้งชุดไฮโดรลิคที่มีความสูง 1.5 เมตร และมีแรงดันสูงสุด 500 Bars หรือ 30 ตัน เข้ากับบ่ารับน้ำหนัก เครื่องไฮโดรลิคสามารถกดเข็มไมโครไพล์ลงได้อย่างรวดเร็ว ไม่มีเสียงรบกวน และไม่มีแรงสั่นสะเทือน

6. ในกรณีที่มีการปรับดีดโครงสร้าง แม่แรงขนาด 30-50 จะถูกติดตั้งเพื่อใช้ในการยกโครงสร้าง การติดตั้งเครื่องมือวัดระดับแบบเลเซอร์ เพื่อควบคุมการยกตัวของอาคาร ให้มีอัตราการยกตัวตามที่ต้องการ ทังนี้เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับโครงสร้างคอนกรีต

7. เมื่อทำการกดเข็มจนได้ความลึก และแรงดันที่กำหนด บริษัทจะทำการล็อคท่อไมโครไพล์เข้ากับบ่ารับน้ำหนักด้วยฝาเหล็กหนา 20 มิลลิเมตร หลังจากนั้นบ่ารับน้ำหนักจะถูกเชื่อมยึดกับโครงสร้างเดิม ด้วยเหล็ก Dowel Bar ที่มีการเจาะเสียบยึดด้วยวัสดุ Epoxy แล้วจึงทำการเทหุ้มบ่ารับน้ำหนักเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับโครงสร้างก่อนทำการปิดหลุม

8. ขั้นตอนสุดท้ายก่อนการตรวจรับงานกับผู้ว่าจ้าง บริษัทจะการติดตั้งค่าระดับอ้างอิงไว้ยังโครงสร้าง เพื่อใช้ในการตรวจสอบระดับโครงสร้างได้ในอนาคต

งานตอกเสาเข็มไมโครไพล์
(สำหรับงานสร้างและต่อเติมใหม่)
เสาเข็มไมโครไพล์ คือ เสาเข็มขนาดเล็กที่มีขนาดน้อยกว่า 25 เซนติเมตร ใช้กับงานโครงสร้างขนาดเล็กที่ต้องการความสามารถในการรับน้ำหนักประมาณ 20-30 ตันต่อต้น โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ ลดแรงสั่นสะเทือนขณะทำการตอกและ เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงพื้นที่หน้างานคุณลักษณะเด่นของเสาเข็มไมโครไพล์
• ปั้นจั่นถูกออกแบบเป็นพิเศษให้สามารถเข้าพื้นขนาดเล็กได้ โดยมีขนาดประมาณ 1.2x2.5 เมตร และสูงเพียง 2.5 เมตร
• สะอาด ไม่มีดินโคลน แข็งแรงและทนทาน
• สามารถตอกได้ลึกจนถึงชั้นดินดาล และตรวจสอบได้ง่าย
• มั่นใจในคุณภาพการรับน้ำหนัก สามารถรับน้ำหนักตามที่วิศวกรออกแบบไว้ โดยสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 20-30 ตันต่อต้น
• สามารถตอกชิดกำแพง โครงสร้างกระจก ผนังบ้านได้ โดยไม่มีแรงสั่นสะเทือน ทำให้โครงสร้างเดิมไม่แตกร้าว และไม่มีสร้างปัญหาให้กับอาคารข้างเคียง
• ปั้นจั่นถูกออกแบบเป็นพิเศษให้สามารถเข้าพื้นขนาดเล็กได้ โดยมีขนาดประมาณ 1.2x2.5 เมตร และสูงเพียง 2.5 เมตร
• สะอาด ไม่มีดินโคลน แข็งแรงและทนทาน
• สามารถตอกได้ลึกจนถึงชั้นดินดาล และตรวจสอบได้ง่าย
• มั่นใจในคุณภาพการรับน้ำหนัก สามารถรับน้ำหนักตามที่วิศวกรออกแบบไว้ โดยสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 20-30 ตันต่อต้น
• สามารถตอกชิดกำแพง โครงสร้างกระจก ผนังบ้านได้ โดยไม่มีแรงสั่นสะเทือน ทำให้โครงสร้างเดิมไม่แตกร้าว และไม่มีสร้างปัญหาให้กับอาคารข้างเคียง
ขนาดเสาเข็ม
• I18 load design ที่ 22 ตันต่อต้น
• I22 load design ที่ 28 ตันต่อต้น
• I18 load design ที่ 22 ตันต่อต้น
• I22 load design ที่ 28 ตันต่อต้น