

คือการปรับปรุงสภาพดิน เพิ่มความสามารถในการรับนํ้าหนักให้กับดิน หยุดการทรุดตัวของชั้นดิน ภายใต้นํ้าหนักบรรทุก โดยการ อัดปั๊มคอนกรีตที่มีความสามารถในการไหลตํ่า และมีความข้นเหลวตํ่า ด้วยแรงดันเข้าไปยังชั้นดินอ่อน เพื่อให้คอนกรีตเข้าไปแทนที่ชั้นดินบริเวณดังกล่าว ทำให้ชั้นดิน มีความหนาแน่นของมวลดินมากขึ้น หรือมีความสารถในการรับนํ้าหนักมากขึ้น และขณะ เดียวกัน ดินบริเวณข้างเคียงก็จะถูกบีบอัดให้มีความหนาแน่นมากขึ้นเช่นกัน
ด้วยสภาวะของคอนกรีตที่มีความสามารถในการไหลตํ่า ทำให้คอนกรีตกระจายตัวเป็นกลุ่มก้อน ไม่ไหลแทรตัวไปตามแนวช่องว่าง ร่องรอยแตกในชั้นดิน ด้วยเหตุปัจจัยดังกล่าว ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพของการบดอัดชั้นดิน บีดตัวไล่นํ้า บีบอัดช่องว่างเป็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จุดเด่นการปรับปรุงสภาพชั้นดินอ่อนด้วยวิธี
Compaction Grout
- วัสดุมีราคาตํ่า ทำให้การปรับปรุงสภาพชั้นดินอ่อนพื้นที่ขนาดใหญ่และลึก ใช้งบประมาณน้อย เมื่อเทียบกับการปรับปรุงสภาพชั้นดินแบบอื่น
- กระบวนการทำงานที่ไม่ต้องใช้เครื่องมือขนาดใหญ่ ไม่สลับซับซ้อน ทำให้การเข้าถึงหน้างานในที่แคบๆ เป็นไปได้ง่าย
- มีกระบวนการตรวจสอบความสมบูรณ์ของการปรับปรุงสภาพชั้นดิน ด้วยการวัดปริมาตรวัสดุที่ถูกอัดปั๊ม และการวัดดันขณะทำการอัดปั๊ม ที่หมายถึงแรงต้านจากชั้นดิน
- สามารถทำการอัดปั๊มได้ลึกมากกว่า 20 เมตร
Compaction Grout
( Low-mobility Concrete )
ขั้นตอนการทำงาน

ทดสอบสภาพดินเพื่อประเมินลักษณะการซ่อม
ทดสอบสภาพดินด้วยวิธีการตอกหยั่ง ( CPT : Cone Penetration Test) เพื่อให้ทราบถึงสภาพความสามารถในการรับน้ำหนักของดินแต่ละชั้น ก่อนที่จะทำการประเมินลักษณะการซ่อม ที่หมายถึงความลึกของการอัดปั๊ม ปริมาณวัสดุที่ใช้ต่อจุด และระยะห่างระหว่าง จุดที่จะอัดปั๊ม

กำหนดจุดที่จะทำการอัดปั๊ม
กำหนดระยะห่างระหว่างจุดที่จะทำการอัดปั๊ม โดยทั่วไปจะมีระยะห่างประมาณ 2-3 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ลักษณะของโครงสร้าง และสภาพดินฐานราก

ติดตั้งท่ออัดปั๊มวัสดุ
ติดตั้งท่ออัดปั๊มวัสดุ (Casing) ที่ระดับความลึก ตามที่ได้จากผลการทดสอบสภาพดิน

ติดตั้งPressure Gauge
ติดตั้งPressure Gauge เพื่อวัดแรงต้านของชั้นดิน และสายส่งวัสดุ โดยเครื่องอัดปั๊มสามารถอยู่ห่างจากปั๊มคอนกรีตได้ประมาณ 50 เมตร

จัดวางแพล้นคอนกรีต
ติดตั้งและจัดวางแพล้นคอนกรีต ที่ประกอบไปด้วย โม่ผสมคอนกรีต คอนกรีตปั๊ม และกองเก็บวัสดุ ที่ต้องการพื้นขนาดประมาณ 10x10 เมตร

ทำการอัดปั๊มคอนกรีตพร้อมกับตรวจวัดการขยับตัว
ทำการอัดปั๊มคอนกรีตที่มีความสามารถในการไหลต่ำ ( Low Slum Concrete) หรือมีความข้นเหลว 50±10 มิลลิเมตร(Slump Test) การประเมินและควบคุมความสมบูรณ์ของการอัดปั๊มของชั้นดินแต่ละชั้น จากปริมาณคอนกรีตที่อัดปั๊มเข้าไป และ แรงดันที่เกิดขึ้นขณะทำการอัด แรงดันดังกล่าวนี้คือค่าแรงต้านของชั้นดิน(Soil Resistance) ซึ่งหมายถึงความสามารถในการรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น

อัดปั๊มคอนกรีต
อัดปั๊มคอนกรีต พร้อมกับตรวจวัดการขยับตัวของโครงสร้างด้วยเครื่องวัดเลเซอร์

อัดปั๊มวัสดุในชั้นดินชั้นถัดไป
ดึงท่อ CASING ขึ้นด้วยเครื่องดึงไฮดรอลิก เพื่ออัดปั๊มวัสดุในชั้นดินชั้นถัดไป


PU DEEP GROUTING : คือการอัดฉีดสารโพลียูรีเทนลงไปยังชั้นดินอ่อน เพื่อปรับปรุงสภาพดินและเพิ่มความสามารถในการรับน้ำหนักให้แก่ชั้นดิน โดยสารโพลียูรีเทนจะขยายตัวบดอัดชั้นดินที่ระดับความลึกนั้นๆ ให้แน่น และแทนที่ช่องว่างหรือโพรงในชั้นดิน
หลักการปรับปรุงสภาพชั้นดินอ่อนด้วยวิธี PU Deep Grouting
• ด้วยความสามารถในการขยายตัวของสารโพลียูรีเทน 10 เท่า ทำให้สามารถเข้าไปแทนที่ช่องว่างในชั้นดิน และ บดอัดดินรอบข้างให้มีความหนาแน่นมากขึ้น
• การแข็งตัวที่รวดเร็วภายในเวลา 10-15 วินาที เป็นอีกหนึ่งคุณสมบัติเฉพาะตัวของสารโพลียูรีเทน ที่ทำให้สามารถควบคุมการกระจายตัวของสารโพลียูรีเทนให้อยู่ในพื้นที่ที่ต้องการได้
• ลดผลกระทบเนื่องจากการบีบตัวคายน้ำของดิน และลดการขยายและหดตัวของดิน ประเภท Cohecive Soil
• โพลียูรีเทนสารสามารถแทรกและเพิ่มการยึดเกาะระหว่างเม็ดดิน ประเภท Non Cohecive Soil
• สารโพลียูรีเทนจะแทนที่ช่องว่างหรือโพรงในชั้นดิน
• ชั้นดินอ่อนสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ด้วยการเพิ่มแรงต้านทานเฉือน ซึ่งวัสดุจะทำการฉีดที่ระดับความลึกลงไปในพื้นที่ของกระเปาะแรงดัน (pressure bulb) ณ จุดที่จะได้รับผลจากแรงเฉือนของน้ำหนักของโครงสร้างด้านบน
PU Deep Grouting
ขั้นตอนการปรับปรุงสภาพชั้นดินอ่อน

ทำการสำรวจชั้นดิน
ทำการสำรวจชั้นดินด้วยเครื่อง DCP(Dynamic Cone Penetrometer) เพื่อประเมินลักษณะการซ่อม ความลึกของชั้นดินที่มีปัญหา และปริมาณวัสดุที่จะทำการอัดปั๊ม

เจาะคอนกรีตขนาด
เจาะคอนกรีตขนาด 15 มิลลิเมตร ผ่านลงไปยังชั้นดินใต้ฐานคอนกรีต ด้วยสว่านเจาะระบบโรตารี่

ติดตั้งท่อส่งวัสดุและชุดยกท่อระบบไฮดรอลิก
ติดตั้งท่อส่งวัสดุขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 มิลลิเมตร เพื่อใช้ในการส่งวัสดุลงไปยังชั้นดินที่ต้องการอัดฉีดวัสดุ และทำการติดตั้งชุดยกท่อระบบไฮดรอลิก เพื่อใช้ในการขยับท่อส่งวัสดุในกรณีของการอัดฉีดวัสดุหลายๆชั้นตวามลึก

ทำการติดตั้งปืนอัดสารโพลียูรีเทน
โดยในขณะที่ทำการอัดวัสดุจะมีการติดตั้งเครื่องวัดระดับเลเซอร์ เพื่อวัดระดับการยกตัวของโครงสร้าง โดยค่าที่อ่านได้จากเครื่องวัดมีความละเอียดในหน่วยมิลลิเมตร การวัดการขยับตัวของโครงสร้างใช้เพื่อเป็นการยืนยันว่าดินใต้ฐานรากสามารถรับน้ำหนักกดทับได้

ในการส่งผ่านวัสดุไปยังชั้นดินนั้นจะใช้ปั๊มอัดที่แรงดันประมาณ 2000 PSI ผ่านสายที่มีความยาวมากกว่า 50 และเครื่องอัดวัสดุจะมีการติดตั้งมิเตอร์เพื่อวัดปริมาณวัสดุที่ใช้ขณะทำการอัดปั๊ม




งานเสริมเสถียรภาพดินทราย ด้วยวัสดุ Cement Slurry
(Low Pressure Grouting or Permeable Grouting)
การเสริมเสถียรภาพให้ดินทรายโดยใช้วัสดุที่มีความข้นเหลวสูง เพื่อให้วัสดุสามารถไหลซึมเข้าไปอยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดดิน การการอัดปั๊มวัสดุจำเป็นต้องใช้แรงดันในการอัดปั๊มวัสดุต่ำ เพื่อให้เกิดการไหลซึม และลดการบีบอัดตัวของดินทราย ที่จะทำให้ลดความสามารถในการไหลซึมของวัสดุ
Low Pressure Grouting or Permeable Grouting
ขั้นตอนการทำงาน

งานคอริ่งคอนกรีตขนาด 1.5 นิ้ว

ติดตั้ง Casing ขนาด 1.5 นิ้ว
ติดตั้ง Casing ขนาด 1.5 นิ้ว ด้วยเครื่องตอกกระแทก ทั้งนี้ปลายอีกด้านของCasing จะถูกปิดด้วยหัวอุด เพื่อป้องกันดินเข้ามาอุดที่ปลายCasing และเมื่อทำการอัดวัสดุ หัวอุดดังกล่าวจะถูกดันออกด้วยแรงดัน ในการติดตั้ง Casing จะทำการติดตั้งทุกระยะห่างประมาณ 1 เมตร

ติดตั้งชุดไฮโดรลิค
ติดตั้งชุดไฮโดรลิคที่จะใช้ในการยก Casing โดยในการเกร้าท์วัสดุ บริษัทจะทำการเกร้าท์ทุกระดับความลึด 0.5 เมตร โดยแต่ในแต่ละชั้นจะใช้ปริมาณวัสดุที่ประมาณ 50 ลิตร

งานติดตั้งเครื่องมือ อุปกรณ์ และการผสมวัสดุ
ในการอัดปั๊มวัสดุ วัสดุจะถูกอัดปั๊มด้วยเครื่องสกรูปั๊ม ที่มีแรงดันมากกว่า 14 บาร์ และสายลำเลียงวัสดุ 30 เมตร การผสมวัสดุ บริษัทจะทำการผสมวัสดุ ที่หน้างาน หรือบนรถโมบาย เพื่อสะดวกและรวดเร็วในการติดตั้ง และเคลื่อนย้ายออกเพื่อเปิดพื้นที่หน้างาน

การติดตั้งหัวอัดวัสดุ
หัวอัดวัสดุจะถูกติดตั้ง Pressure Gauge เพื่อวัดแรงดันในการอัดปั๊ม ในการอัดปั๊มจะควบคุมแรงดันไม่เกิน 2-3 บาร์ ในกรณีที่แรงดันมากกว่า 3 บาร์ เจ้าหน้าที่จะทำการหยุดการอัดปั๊มเพื่อให้วัสดุได้ไหลซึมจนกว่าแรงดันจะลดลงจึงจะทำการอัดปั๊มต่อ ทั้งนี้เจ้าหน้าที่จะทำการอัดปั๊มจนกระทั้งได้ปริมารวัสดุ 25 ลิตร หรือ แรงดันคงที่มากกว่า 3 บาร์

